วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภูเขาไฟระเบิด ที่ ไอซ์แลนด์ กับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สวยสยอง



        Eyjafjallajökull volcano ภูเขาไฟ ไอยาฟยาพลาเยอร์คูดุล ในประเทศไอซ์แลนด์ ที่หลับไหลอยู่ใต้ธารน้ำแข็งไอยาฟยาพลาเยอร์คูดุล เกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2553 สร้างความปั่นป่วนให้แก่ สายการบินที่จะมุ่งหน้าสู่ยุโรป ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การบินโลก แต่ wowboom คงจะขอข้ามเรื่องนี้ไป แต่จะขอเสนอในแง่มุมสวยสยอง

ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ภูเขาไฟระเบิด ร่วมกับ ฟ้าผ่า       ในการระเบิดของภูเขาไฟไอยาฟยาพลาเยอร์คูดุล(ชื่อมันจะยาวไปไหน ของมันเนี้ย) เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2010 ได้เกิด ปรากฏการณ์ธรรมชาต Volcanic Lightning ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติปริศนา ที่เกิดร่วมระหว่าง ภูเขาไฟระเบิด และพายุสายฟ้า และยังเป็นอีก 1 ปริศนาทางธรรมชาติที่ยังหาคำตอบมิได้


เถ้าภูเขาไฟสีดำทมึน ลาวาสีแดงฉาน และสายฟ้าสีคราม ช่างเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ สวยสยอง เสียเหลือเกิน


อีกหนึ่งภาพที่สายฟ้าผากลางเถ้าถ่านภูเขาไฟ ตัดกับฉากหลังสีแดงเพลิง อันเกิดจากแสงสะท้อนของธารลาวา


ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ ภูเขาไฟระเบิด ร่วมกับ แสงเหนือ        ในการระเบิดของภูเขาไฟไอยาฟยาพลาเยอร์คูดุล ครั้งนี้ไม่เพียงแต่เกิดปรากฏการณ์ Volcanic Lightning ขึ้นเท่านั้น มันยังก่อให้เกิดปรากกฏการณ์ธรรมชาติ แสงเหนือ(ออโรรา) ขึ้นบนท้องฟ้าอีก หนึ่งปรากฏการณ์ สุดสวย


ในวันที่ 22 เมษายน 2552 วันนั้นเป็นวันที่มีเมฆบางๆ อยู่เหนือปากปล่องภูเขาไฟ ไอยาฟยาพลาเยอร์คูดุล


การระเบิดของภูเขาไฟในวันนี้ก็ไม่รุนแรงมาก ลาวา และเถ้าถ่านก็ถูกพ่อนออกมาในบริเวรที่เบาบาง แต่ต่ำลงมาก


และวันนี้ก็พลันเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ แสงเหนือ(ออโรลา) ขึ้นเหนือการระเบิดของภูเขาไฟ
ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ ภูเขาไฟระเบิด ร่วมกับ เถ้าถ่าน และควัน
ควันจากการระเบิดของภูเขาไฟ รูปโดนัท


เนื่องจากมีรายงานในช่วงปี 1983 - 2000 เครื่งอยนต์เครื่องบินที่เกิดการดับลงเนื่องด้วย ดูดเถ้าภูเขาไฟเข้าไปทำให้ต้องมีการระงับเที่ยวบินทั้งหมดที่จะบินเข้า ยุโรป ลงเพื่อความปลอดภัย ทำให้มีผู้โดยสารเครื่องบินนับล้านตกค้าง นับว่าเป็นวิกฤตกาลทางการบินครั้งใหญ่ที่สุดในโลก ครั้งหนึ่ง


เป็นภาพที่ถ่ายโดยดาวเทียม Terra เมื่อเวลา 11:39 ในวันที่ 15 เมษายน 2553 จะเห็นว่าภูเขาไฟอยู่ทางขวามือบน และเถ้าถ่าน และควัน (เส้นตรงเฉียงจากบนลงล่างสีน้ำตาลอ่อน) ถูกพัดมาไกลถึงทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอ้างอิง
  • http://news.nationalgeographic.com/news/2010/04/photogalleries/100419-iceland-volcano-lightning-ash-pictures/#iceland-volcano-lightning-1_19113_600x450.jpg
  • http://www.dailymail.co.uk/news/worldnews/article-1268225/Iceland-volcano-Northern-Lights-appear-ash-plume.html
  • http://www.telegraph.co.uk/earth/earthpicturegalleries/7498695/Iceland-volcano-eruption-volcanic-activity-in-the-land-of-fire-and-ice.html?image=11
  • http://www.boston.com/bigpicture/2010/04/icelands_disruptive_volcano.html









วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทะเลกรด ภัยเงียบจากโลกร้อน

แนวปะการังทั่วโลก กำลังเจอกับศัตรูถึง 2 ด้าน ปัญหาเดิมก็คือภาวะโลกร้อน ทำให้ปะการังฟอกขาวล้มตายไปแล้วกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

แต่ที่น่าวิตกกว่า และกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกก็คือแนวปะการัง กำลังเจอกับภาวะทะเลกรด ร้ายกว่าโลกร้อนเพราะอาจทำให้ปะการังถึงขั้นสูญพันธุ์

ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง ของออสเตรเลีย บอกว่า ตอนนี้ภาวะทะเลกรด เกี่ยวกันอย่างไรกับปัญหาโลกร้อน

ต้องโทษตัวการสำคัญ ก็คือบรรดากาซพิษจากเผาไหม้โดยฝีมือมนุษย์ 48 เปอร์เซ็นต์ของกาซพวกนี้ ไม่ได้อยู่ในอากาศเท่านั้น แต่ละลายลงไปอยู่ในน้ำ ปัญหาก็คือ 98 เปอร์เซ็นต์ของน้ำบนโลกใบนี้อยู่ในมหาสมุทร กาซพิษทำให้น้ำมีความเป็นกรดมากขึ้น หมายความว่า ปะการังจะมีสภาพอ่อนแอลงจนไม่สามารถจะก่อตัวหรือคงรูปร่างเป็นแนวปราการได้อีก

สิ่งที่นักสิ่งแวดล้อมเป็นห่วงก็คือ ภาวะทะเลกรด จะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ และแนวปะการังลดลงรวดเร็วขึ้นและอาจสูญพันธุ์ในที่สุด

ทะเลกรดเกิดขึ้นในง่ายในน้ำตื้น หมายถึงทะเลไทยยังเป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ถึง 40 เมตรเท่านั้น

แต่ต้องถือว่าประเทศไทยโชคดีที่สุดในเวลานี้ เพราะมีข่าวดี ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนก่อน ตอนนี้ฟื้นตัวแล้วถึง 5 เปอร์เซ็นต์

หลังจากมีการปิดจุดดำน้ำบางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง ในฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีปัญหาปะการังฟอกขาว ผ่านไปเพียง 26 วัน ปรากฏว่าปะการังที่ฟอกขาวมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วขึ้น ตอนนี้บางพื้นที่ปะการังงอกใหม่ถึง 2 เซนติเมตรซึ่งนักสิ่งแวดล้อมบอกว่า เป็นแนวโน้มที่ดีมาก ๆ

เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นทะเลเปิด มีสามารถหมุนเวียนน้ำเสีย ออกสู่มหาสมุทรอินเดียได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยให้การเติบโตและฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว ดีกว่าปะการังในฝั่งอ่าวไทย

แต่ปะการังฝั่งอันดามัน ก็ต้องใช้เวลาฟื้นตัวเต็มที่อีก 5 ถึง 6 ปี และช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้ จะเข้าสู่ฤดูการปิดอุทยานแห่งชาติฝั่งอันดามันในฤดูมรสุมจะเป็นอีกโอกาส ที่ปะการังจะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

ต้องเอาใจช่วยให้ปะการังของไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น ทันกับเวลาที่องค์การยูเนสโก จะประกาศให้อุทยานทางทะเลทั้ง 18 แห่ง เป็นมรดกโลกทางทะเล

global_weather@ch7.com