วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในอนาคต

1. โลกร้อนที่สุดในรอบ 400 ปี
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯได้สรุปแจ้งผลการทบทวนรายงานทางวิทยา ศาสตร์ภูมิอากาศต่อรัฐสภาว่า“อุณหภูมิของโลกเมื่อปี2549 ได้อุ่นขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 400 ปี และอาจจะนานเป็นเวลาหลายพันปีก็ได้ อันเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวพื้นโลกในซีกโลกเหนือได้สูงเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 °C”


2. ใจกลางโลกร้อนจัด
จากวารสารวิชาการวิทยาศาสตร์ฉบับใหม่ของสหรัฐฯรายงานว่านักธรณีวิทยาได้ ศึกษาเพื่อต้องการที่จะหาความรู้ว่าความร้อนภายในโลกที่เป็นต้นตอของเหตุ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ ตลอดจนสนามแม่เหล็กโลก ถ่ายเทออกมาได้อย่างไร ซึ่ง“นายโรเบิร์ต แวน เดอ ฮิลสต์” กับคณะของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูแสตต์ในสหรัฐฯ ได้ทำการศึกษาบริเวณใต้ผิวโลกแถบอเมริกากลาง โดยการติดตามคลื่นที่เกิดเมื่อแผ่นดินไหว คลื่นนั้นเดินทางลึกลงไปใจกลางโลกเป็นระยะทางหลายพันกิโลฯ และได้อาศัยตรวจวัดอุณหภูมิภายในของโลกที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกและแกน จึงพบว่ามันมีอุณหภูมิสูงถึง 3,676 °C หรือร้อนระดับน้องๆของอุณหภูมิที่ผิวพื้นดวงอาทิตย์ ซึ่งร้อนถึง 5,526 °C

3. 21ปีข้างหน้า เอเชียเตรียมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ
องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพ อันเป็นหน่วยงานวิจัยหลักของประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า“โลกอาจจะร้อนขึ้นอีก 4 °C ในราวปี พ.ศ.2573 โดยเฉพาะทางแถบอันแห้งแล้งทางเหนือของปากีสถาน อินเดีย และจีน” ทางเดียวที่พอจะบรรเทาหรือป้องกันได้ ก็ด้วยรัฐบาลของชาติเหล่านี้ต้องลงมือขจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก มาเสียตั้งแต่บัดนี้ นอกจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นแล้ว ยังจะถูกซ้ำเติมด้วยฝนตกที่ผิดปกติ รวมทั้งพายุหมุนเขตร้อนที่มีมากขึ้น ลมมรสุมรุนแรงจะก่อให้เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนเรือนล้านต้องตกเป็นเหยื่อของโรคไข้จับสั่น ไข้ส่า และโรคติดต่ออื่นๆ นอกจากนี้ประชากร 1 ใน 10 ของภูมิภาคเอเชีย ที่อาศัยอยู่ตามบริเวณชายฝั่งและตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงมากที่สุด อาจจะต้องละทิ้งถิ่นฐาน เพราะน้ำทะเลล้นฝั่ง โดยจะเอ่อสูงขึ้นอีกราว 20 นิ้ว ในระยะเวลา 65 ปีข้างหน้า
ทางองค์การฯยังเชื่อว่าคงมีเพียงไม่กี่ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีแผน ปฏิบัติการรับมือกับระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และเชื่อว่าหลายชาติไม่มีงบประมาณเพียงพอในการก่อสร้างเขื่อนกันน้ำทะเล เหมือนประเทศเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้จากสถิติประชากรเอเชีย ประเทศจีนมีประชากรอาศัยในแถบพื้นที่ลุ่มริมชายฝั่งทะเลมากที่สุด โดยมีราว 143 ล้านคน รองลงมาคือ อินเดีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

4. ทวีปยุโรป..แชมป์เปี้ยนอุณหภูมิโลกร้อน และในอนาคตอาจจะไม่มีฤดูหนาว
จากรายงานการศึกษาของสำนักการศึกษาสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรปได้กล่าวคาดหมายว่า “เนื่องจากปรากฏการณ์อากาศที่อุ่นขึ้น(หรือร้อนขึ้น)ของโลกเป็นลำดับที่เป็น อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ทวีปยุโรปอาจจะต้องเผชิญกับคลื่นอากาศร้อนและอุทกภัยถี่ขึ้นมากกว่า เดิมจนน้ำแข็งที่ปกคลุมตามยอดเขาแอลป์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อาจจะละลายหาย หมดเกลี้ยงลงถึง 3 ใน 4 ภายในปี พ.ศ.2593”
จากการศึกษาฯยังได้พบว่าอุณหภูมิของอากาศในทวีปยุโรปได้เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย ในรอบ 100 ปีมานี้ สูงขึ้นอีก 1.7 °F และยังอาจจะเพิ่มสูงขึ้นในรอบศตวรรษนี้เป็นระหว่าง 3.6-11.3 °F ซึ่งถือว่าสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก นอกจากนี้ยังระบุว่าอุณหภูมิที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นของโลก อาจจะเป็นผลให้ทั่วทั้งทวีปยุโรปจะหมดสิ้นฤดูหนาวโดยสิ้นเชิงในราวปี พ.ศ.2603 และเมื่อถึงฤดูร้อนก็จะร้อนยิ่งขึ้น เกิดความแห้งแล้ง และปรากฏการณ์อย่างพายุลูกเห็บและฝนตกหนักก็จะเกิดขึ้นบ่อย


5. 89-91 ปี เกาหลีใต้จะกลายเป็นประเทศกึ่งร้อนในอนาคต
สำนักข่าวยอนฮัพของเกาหลีใต้ อ้างแถลงการณ์ของศูนย์พยากรณ์อากาศของเกาหลีใต้ว่า“ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงความ เป็นไปได้ที่พื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในประเทศ อาจขยายวงกว้างมากขึ้น ครอบคลุมกรุงโซล เมืองหลวงของประเทศ และพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศภายในปี พ.ศ.2641-2643 จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 68 แห่ง ทำให้กลายเป็นประเทศกึ่งร้อน" นอกจากนี้ศูนย์ฯยังได้ทำนายว่า“อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นราว 4 °C ภายในระยะ 70 ปีข้างหน้านี้”
คำว่า“ประเทศกึ่งร้อน” หมายถึง ประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือน สูงกว่า 10 °C เป็นเวลากว่า 8 เดือนใน 1 ปี และมีอุณหภูมิในเดือนที่หนาวเย็นที่สุด ต่ำกว่า 18 °C โดยเฉลี่ย

6. ธารน้ำแข็งขั้วโลกใต้บางลง หวั่นทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น
คณะนักวิจัยนานาชาติรายงานในวารสารวิทยาศาสตร์“ไซเอินซ์”ว่า“ธารน้ำแข็งบาง แห่งทางทิศตะวันตกของขั้วโลกใต้กำลังละลายเร็วกว่าที่หิมะจะตกลงแทนที่ได้ ทัน และจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” โดยจากการตรวจวัดธารน้ำแข็งที่ไหลลงทะเลอะมันด์เซ่นในมหาสมุทรแปซิฟิก พบว่าธารน้ำแข็งเหล่านี้ละลายเร็วกว่าปีก่อนๆ และอาจแตกเป็นเสี่ยงๆ นอกจากนี้ยังมีปริมาณน้ำแข็งมากกว่าที่คาดไว้ นักวิจัยระบุว่าธารน้ำแข็งที่ทะเลอะมันด์เซ่นมีน้ำแข็งมากพอจะทำให้ระดับน้ำ ทะเลสูงขึ้น 1.3 เมตร จากการตรวจวัดพบว่าปริมาณน้ำแข็งเกินระดับความสมดุลอยู่ร้อยละ 60 ซึ่งมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นปีละ 0.2 มม. มากกว่า 10% ของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นทั้งโลกประมาณ 1.8 มม./ปี
7. ชาวโลก 634 ล้านคน เตรียมรับเคราะห์จากภัยระดับน้ำทะเลหนุนขึ้นสูง
จากวารสารวิชาการ“สิ่งแวดล้อม”รายงานว่า“ผู้คนที่จะได้รับเคราะห์จะเป็นผู้ ที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่ถึง 33 ฟุต ซึ่งเป็นชนชาติต่างๆไม่ต่ำกว่า 180 ชาติ ประมาณ 634 ล้านคน และมีเมืองใหญ่ของโลกมากถึง 2 ใน 3 ตกอยู่ในข่ายอันตรายนี้ด้วย เช่น โตเกียว(ญี่ปุ่น) นิวยอร์ก(สหรัฐฯ) มุมไบ(อินเดีย) เซี่ยงไฮ้(จีน) จาการ์ตา(อินโดฯ) และตาการ์(บังคลาเทศ) เป็นต้น”
การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ได้ระบุบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งทะเล ซึ่งอาจได้รับอันตรายเนื่องจากเหตุโลกร้อนและระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้น รายงานนี้ไม่ได้บอกช่วงเวลาที่อาจจะเกิดน้ำทะเลเอ่อท่วมดินแดนริมฝั่งแต่ละ ชาติไว้ แต่ได้กล่าวเตือนให้รู้ตัวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้จะต้องใช้เงินมหาศาล เพราะจะต้องย้ายผู้คนออกเป็นจำนวนมาก และสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมที่สามารถป้องกันได้


8. สัตว์นับล้านๆชนิดจะสูญพันธุ์
นักวิชาการหลายชาติเชื่อว่าผลจากระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ เป็นผลทำให้สัตว์นับล้านๆชนิดจะสูญพันธุ์จากการไม่มีที่อยู่

9.โรคระบาดมากขึ้น
โรคระบาดมักจะมาตามน้ำ อาจเกิดจากสัตว์หรือขยะ ในอนาคตอาจมีโรคระบาดใหม่มากขึ้น
ที่มา : http://tummachatsingwadlom.igetweb.com/index.php?mo=3&art=277246

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น