วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทะเลกรด ภัยเงียบจากโลกร้อน

แนวปะการังทั่วโลก กำลังเจอกับศัตรูถึง 2 ด้าน ปัญหาเดิมก็คือภาวะโลกร้อน ทำให้ปะการังฟอกขาวล้มตายไปแล้วกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

แต่ที่น่าวิตกกว่า และกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกก็คือแนวปะการัง กำลังเจอกับภาวะทะเลกรด ร้ายกว่าโลกร้อนเพราะอาจทำให้ปะการังถึงขั้นสูญพันธุ์

ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง ของออสเตรเลีย บอกว่า ตอนนี้ภาวะทะเลกรด เกี่ยวกันอย่างไรกับปัญหาโลกร้อน

ต้องโทษตัวการสำคัญ ก็คือบรรดากาซพิษจากเผาไหม้โดยฝีมือมนุษย์ 48 เปอร์เซ็นต์ของกาซพวกนี้ ไม่ได้อยู่ในอากาศเท่านั้น แต่ละลายลงไปอยู่ในน้ำ ปัญหาก็คือ 98 เปอร์เซ็นต์ของน้ำบนโลกใบนี้อยู่ในมหาสมุทร กาซพิษทำให้น้ำมีความเป็นกรดมากขึ้น หมายความว่า ปะการังจะมีสภาพอ่อนแอลงจนไม่สามารถจะก่อตัวหรือคงรูปร่างเป็นแนวปราการได้อีก

สิ่งที่นักสิ่งแวดล้อมเป็นห่วงก็คือ ภาวะทะเลกรด จะทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ และแนวปะการังลดลงรวดเร็วขึ้นและอาจสูญพันธุ์ในที่สุด

ทะเลกรดเกิดขึ้นในง่ายในน้ำตื้น หมายถึงทะเลไทยยังเป็นพื้นที่เสี่ยงเพราะความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ถึง 40 เมตรเท่านั้น

แต่ต้องถือว่าประเทศไทยโชคดีที่สุดในเวลานี้ เพราะมีข่าวดี ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนก่อน ตอนนี้ฟื้นตัวแล้วถึง 5 เปอร์เซ็นต์

หลังจากมีการปิดจุดดำน้ำบางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง ในฝั่งทะเลอันดามัน ที่มีปัญหาปะการังฟอกขาว ผ่านไปเพียง 26 วัน ปรากฏว่าปะการังที่ฟอกขาวมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วขึ้น ตอนนี้บางพื้นที่ปะการังงอกใหม่ถึง 2 เซนติเมตรซึ่งนักสิ่งแวดล้อมบอกว่า เป็นแนวโน้มที่ดีมาก ๆ

เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของทะเลฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นทะเลเปิด มีสามารถหมุนเวียนน้ำเสีย ออกสู่มหาสมุทรอินเดียได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยให้การเติบโตและฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว ดีกว่าปะการังในฝั่งอ่าวไทย

แต่ปะการังฝั่งอันดามัน ก็ต้องใช้เวลาฟื้นตัวเต็มที่อีก 5 ถึง 6 ปี และช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้ จะเข้าสู่ฤดูการปิดอุทยานแห่งชาติฝั่งอันดามันในฤดูมรสุมจะเป็นอีกโอกาส ที่ปะการังจะได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

ต้องเอาใจช่วยให้ปะการังของไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น ทันกับเวลาที่องค์การยูเนสโก จะประกาศให้อุทยานทางทะเลทั้ง 18 แห่ง เป็นมรดกโลกทางทะเล

global_weather@ch7.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น